ข้ามไปเนื้อหา

เอียน สมิธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอียน ดักลาส สมิธ
สมิธใน พ.ศ. 2497
นายกรัฐมนตรีโรดีเซียคนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน พ.ศ. 2507 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2522
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ประธานาธิบดี
รองคลิฟฟอร์ด ดูปอนด์
จอหน์ วาร์เทิล
เดวิด สมิธ
ก่อนหน้าวินสตัน ฟิลด์
ถัดไปอาเบล มูซอเรวา (ซิมบับเวโรดีเซีย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เอียน ดักลาส สมิธ

8 เมษายน พ.ศ. 2462
เซลุคเว, โรดีเชีย
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (88 ปี)
เคปทาวน์, ประเทศแอฟริกาใต้
ที่ไว้ศพซูลุควิ, ซิมบับเว
พรรคการเมือง
คู่สมรสเจเน็ต สมิธ (2491–2537)
บุตร3
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโรโดส
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
  • โรดีเซีย
  • สหรัฐอาณาจักร
สังกัดกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ประจำการ2484–2488
ยศเรืออากาศเอก
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

เอียน สมิธ (อังกฤษ: Ian Smith) เป็นนักการเมืองชาวโรดีเชียผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศโรดีเชีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2522 เขาคือผู้เรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2508 และเป็นนายกรัฐมนตรีหลังได้รับเอกราชเป็นเวลา 14 ปี เขายังเป็นผู้บัญชาการในสงครามบุช[1][2] ปัจจุบันนี้บทบาทของเขายังเป็นที่ถกเถียงของเหล่านักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนมองว่าเขาเป็นคนที่มีคุณธรรมและเข้าใจปัญหาในภูมิภาคแอฟริกาเป็นอย่างดี ในขณะที่ฝ่ายต่อต้านมองว่าเขาเป็นพวกเหยียดสีผิว[3]

เขาเกิดในครอบครัวผู้อพยพชาวอังกฤษในเมืองเซลุคเวในจังหวัดมิแลนด์แห่งเซาท์เทิร์นโรดีเซีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขารับราชการเป็นทหารอากาศในสังกัดกองทัพอากาศอังกฤษ และในเหตุการณ์นี้ทให้เขาได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้าของเขา หลังพักฟื้นเขาได้ประจำการในยุโรป ก่อนที่เขาจะกลับมาทำเกษตรกรรมใน พ.ศ. 2491 และปีเดียวกันนั้นเขาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองเซลุคเว ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัย 29 ปี ต่อมาเขาเข้าร่วมกับพรรคสหภาพ (ยูเอฟพี) และตำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคใน พ.ศ. 2501 ก่อนที่เขาจะลาออกจากพรรคใน พ.ศ. 2504 เพื่อประท้วงคัดรัฐธรรมนูญแห่งโรดีเซีย ทำให้เขาได้ร่วมมือกับวินสตัน ฟีลด์ก่อตั้งพรรคโรดีเซียก้าวหน้าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักร

เขาได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีหลังจากที่พรรคโรดีเซียก้าวหน้าชนะเลือกตั้งใน พ.ศ. 2505 และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2507 หลังการลาออกของฟิลด์ แต่ยังไม่ได้รับเอกราช จนกระทั่งสมิธเจรจากับฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ณ ขณะนั้น ทำให้ได้รับเอกราชในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 แต่รัฐบาลของสมิธต้องประสบปัญหาจากการที่ถูกองค์การสหประชาชาติคว่ำบาตร แต่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากประเทศแอฟริกาใต้และประเทศโปรตุเกส และเขาประกาศให้โรดีเซียเป็นสาธารณรัฐใน พ.ศ. 2513 หลังสงครามบุชใน พ.ศ. 2515 รัฐบาลของเขาได้เจรจากับกลุ่มชาตินิยมที่นำโดยบิชอป อาเบล มูโซเรวา กับกองกำลังผิวสีที่นำโดยโจชัว เอ็นโคโมและรอเบิร์ต มูกาบี

ใน พ.ศ. 2521 เขาและขบวนการชาตินิยมรวมถึงกองกำลังผิวสีภายในประเทศได้ลงนามข้อตกลงภายใน ทำให้โรดีเซียกลายเป็นโรดีเซียซิมบับเวและสมิธพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลายเป็นประเทศซิมบับเวโดยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2523 พร้อมกับการขึ้นสู่อำนาจของมูกาบี สมิธเป็นผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาลมูกาบีในช่วงเจ็ดปีแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง[4] เขาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลมูกาบี เขาอยู่ในซิมบับเวจนกระทั่ง พ.ศ. 2548 เขาได้ย้ายไปอยู่เคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้[5][6] และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 สิริอายุได้ 88 ปี[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tamarkin 1990, p. 14.
  2. "APF newsletter, "Appraisal of Rhodesia in 1975"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2009.
  3. BBC 2007.
  4. Meredith 2007, p. 55.
  5. Bevan 2007; Boynton 2007; Cowell & 2007 b; Johnson 2007; Meredith 2007, p. 17; The Times 2007; The Week 2007.
  6. 6.0 6.1 Blair & Thornycroft 2007.
  7. Cowell & 2007 b.